วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

การค้นพบป่าชายเลน

การค้นพบป่าชายเลน ป่าชายเลนเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่ามหาศาล ได้ถูกค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2037คริสโตเฟอร์โคลัมบัสนักเดินเรือผู้ยิ่งใหญ่ซึ่งเป็นผู้ค้นพบทวีบอเมริกาเป็นคนแรก เขาได้บันทึกไว้ว่า "ในขณะที่ข้าพเจ้าแล่นเรือไปตามอ่าวตาบาดโนนั้น ข้าพเจ้าได้เห็นป่าชนิดหนึ่ง ขึ้นเป็นแนวไปตามชายฝั่งมีลำต้นสูงใหญ่ มี่รากออกมาจากลำต้นลำต้นโค้งลงสู่พื้นดิน มีผลเป็นฝักห้อยอยู่ตามปลายกิ่ง เป็นป่าที่ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นจนแมวไม่สามารถลอดผ่านไปได้และเป็นป่าที่สวยงามน่าสนใจมาก"หลายปีต่อมานักเดินเรือ เซอร์ วอลเตอร์ รแลจ์ ได้พบป่าชนิดเดียวกันนี้ ขึ้นอยู่บริเวณปากแม่น้ำ ในประเทศนิแดด และกิอานา และเมื่อ พ.ศ. 2421 บาวแมน (H.H.M Bowman) นักชีววิทยา ได้ศึกษาป่าชนิดนี้อย่างจริงจัง และตั้งชื่อว่า"Mangroveforest"ซึ่งมาจากภาษาโปรตุเกสคำว่า"mangue"ซึ่งหมายถึงสังคมพืชที่ขึ้นอยู่ตามชายฝั่งดินเลนและใช้กันแพร่หลายในแถบประเทศแถบลาตินอเมริกา ประเทศอื่นใช้เรียกตามภาษาของตัวเอง เช่นประเทศมาเลเซียใช้คำว่า "manggi-manggi" ประเทสฝร่งเศสเรียกป่าชายเลนว่า "manglier" สำหรับประไทยนิยมเรียกป่าชนิดนี้ว่า "ป่าชายเลน" หรือ "ป่าโกงกาง"


ป่าชายเลนคืออะไร ป่าชานเลนคือป่าที่อยู่บริเวณชายฝั่งทะเลเขตร้อน ป่าอ่าวหรือป่าแม่น้ำ ซึ่งมีลักษณะพิเศษประกอบไปด้วยพืชพรรณนานาชนิดและสัตว์นานาพันธุ์ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสภาพแวดล้อมที่เป็นดินเลน น้ำกร่อยและมีน้ำท่วมถึงสม่ำเสมอและเป็นแหล่งผลิตอาหารและพลังงานที่สำคัญแก่มวลมนุษย์ในประเทศไทยเรียกป่าชายเลนอีกอย่างว่า "ป่าโกงกาง" โดยเรียกตามชนิดพันธุ์ไม้ที่มีมากและมีบทบาทที่สำคัญที่สุดในระบบนิเวศ ป่าชายเลนคือ"ไม้โกงกาง"(Rhizophora)ซึ่งไม้ชนิดนี้มีลักษณะพิเศษรากที่ติดกับลำต้นโก่งและกางลงสู่พื้นโคลน หรือที่เรียกว่า"รากค้ำจุน"แต่บางพื้นที่ในจังหวัดต่างๆของภาคใต้มักเรียกป่าชานเลนว่า"ป่าพังกา"เพราะชื่อพื้นเมืองของไม้โกงกางที่เรียกกันในทางภาคใต้คือ "ต้นพังกา"

พืชในป่าชายเลนดังได้กล่าวมาแล้วว่าสังคมพืชในป่าชายเลนมีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างไปจากสังคมพืชในป่าบกอื่นๆ อันเนื่องมาจากสภาพแวดล้อมเป็นตัวการจำกัดที่สำคัญซึ่งทำให้พืชที่มีการปรับตัวมาโดยเฉพาะเท่านั้นที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้ พืชพวกนี้จำเป็นต้องมีการปรับตัวทั้งทางด้านสรีระและโครงสร้าง โดยเฉพาะเมื่อต้องอยู่ในสภาพที่เป็นดินเลนลึกและจมอยู่ในน้ำเค็มที่ท่วมถึงเป็นประจำ พืชพวกนี้มีรากค้ำจุนจำนวนมากแตกออกบริเวณโคนต้น ทำหน้าที่พยุงลำต้นและยังทำหน้าที่หายใจด้วยเนื่องจากใต้ผิวดินลงไปมีออกซิเจนน้อยมาก เห็นได้ชัดในพวก โกงกาง ลักษณะรากที่ทำหน้าที่หายใจอาจมีความแตกต่างกันออกไป เช่น แทงขึ้นจากรากใต้ดินเป็นแท่งตรงซึ่งเห็นบริเวณรอบๆโคนต้น พบใน แสม ลำพูและลำแพน แทงขึ้นมาบนพื้นดินเป็นรูปหักงอคล้ายเข่า เช่น ถั่วขาว พังกาหัวสุม ฝาด และ โปรงหรือมีลักษณะเป็นสันแบนบริเวณโคนต้นและทอดยาวคดเคี้ยวออกไปซึ่งเรียกว่า พูพอน (buttress) ซึ่งพบใน ตะบูน และ โปรง พันธุ์ไม้ดังกล่าวพวกนี้มักมีผลที่ออกตั้งแต่อยู่บนต้นแม่ (vivipary) มีลักษณะแหลมยาวคล้ายฝัก เมื่อหล่นจากต้นแม่สามารถปักลงในดินเลนและพร้อมที่จะเติบโตได้อย่างรวดเร็วลักษณะที่ปรับตัวเพื่อเจริญอยู่ได้ในน้ำเค็ม มีลักษณะคล้ายพืชทะเลทราย เนื่องจากไม่สามารถดูดน้ำนั้นไปใช้ได้สะดวกอย่างน้ำจืดจึงต้องเก็บกักน้ำที่ดูดขึ้นไปได้ไว้ในลำต้นให้ได้มากที่สุด เห็นได้จากลักษณะของใบซึ่งมักมีคิวตินเคลือบหนา มีปากใบแบบจม และมักมีขนปกคลุมผิวใบทั้งนี้เพื่อป้องกันการระเหยของน้ำออกจากใบ บางชนิดมีการเก็บกักน้ำไว้ในเซลล์พิเศษของใบ ซึ่งทำให้ใบมีลักษณะอวบน้ำนอกจากนี้เซลล์ของพืชในป่าชายเลนยังมีความเข้มข้นของเกลือแร่สูงกว่าเซลล์ปกติทั่วไป รวมทั้งมีต่อมขับน้ำเกลือทำหน้าที่ควบคุมความเข้มข้นของเกลือแร่ในเซลล์ใบให้อยู่ในระดับปกติอีกด้วยสำหรับพันธุ์ไม้ที่พบโดยทั่วไปที่เห็นได้เด่นชัดเป็นพวกไม้ยืนต้น นอกนั้นจะมีพวกไม้พุ่ม อิพีไฟต์และไม้เลื้อย ส่วนที่พบในน้ำคือสาหร่ายและแพลงค์ตอนพืชต่างๆพืชยืนต้นที่พบเป็นชนิดเด่นในป่าชายเลน ได้แก่ไม้โกงกาง (Rhizoaphora)ไม้แสม (Avicennia)ไม้โปรง (Ceriops)ไม้ถั่ว (Bruguiera)ลำพู-ลำแพน (Sonneratia)ตะบูนตะบัน (Xylocarpus)ตาตุ่ม (Excoecaria)เสม็ด (Melaleuca)
พันธุ์ไม้ต่างๆเหล่านี้จะขึ้นเป็นเขตที่ค่อนข้างแน่นอนจากแนวชายฝั่งน้ำจนลึกเข้าไปในป่าด้านใน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางกายภาพและเคมีของดิน ความเค็มการระบายน้ำ กระแสน้ำ ความชื้นของดิน และความถี่ของน้ำทะเลที่ท่วมถึงเขตต่างๆของพันธุ์ไม้ชายเลนในแต่ละแห่งที่พบในประเทศไทยมีความแตกต่างกันบ้างดังจะยกตัวอย่างเขตของพันธุ์ไม้ป่าชายเลนบริเวณจังหวัดจันทบุรีมีลำดับดังนี้1. เขตป่าโกงกาง ประกอบด้วย โกงกางใบเล็ก (Rhizophoro apiculata) ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นและมีต้น โกงกางใบใหญ่ (R.mucronata) ขึ้นอยู่ทางด้านนอกริมฝั่งแม่น้ำ โดยมากมักขึ้นเป็นกลุ่มๆ ส่วน แสม นั้นมักขึ้นแซมตามชายป่าด้านนอกหรือถัดเข้าไปเพียงเล็กน้อย ซึ่งมองเห็นได้ชัดเพราะมีต้นสูงใหญ่กว่าโกงกางนอกจากนี้ยังมี ประสัก และ พังกาหัวสุม ขึ้นแทรกอยู่ทางด้านในของเขตนี้ ซึ่งอยู่ในระยะประมาณ 50-100 เมตร จากชายฝั่งและในบางแห่งพบต้น จาก (Nypa)ขึ้นอยู่เป็นหย่อมๆปะปนด้วย โดยเฉพาะในบริเวณแหล่งน้ำกร่อย2. เขตป่าตะบูนและโปรง ประกอบด้วย ตะบูน (Xylocarpus) ขึ้นต่อจากเขตต้น โปรง เข้าไป และมีต้นฝาดขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น บางบริเวณอาจมี ลำแพน แทรกอยู่ด้วย3. เขตป่าตาตุ่ม และฝาด เป็นบริเวณที่มีดินเลนแข็งขึ้นอยู่ในระดับที่น้ำจะท่วมถึงในช่วงน้ำเกิด อยู่ถัดจากป่าตะบูนและโปรงขึ้นไป โดยมีต้น ฝาด ขึ้นอยู่หนาแน่นปะปนกับต้น ตาตุ่ม โดยบางแห่งจะมีต้น ลำแพน ขึ้นแทรกอยู่ด้วย4. เขตป่าเสม็ด ประกอบด้วย เสม็ด ขึ้นอยู่หนาแน่น เป็นเขตสุดท้ายของป่าชายเลนที่น้ำท่วมถึงในช่วงน้ำเกิดหรือท่วมไม่ถึง ติดต่อกับป่าบกหรือทุ่งนานอกจากนี้แล้ว การแบ่งเขตของป่าชายเลนในพื้นที่อื่นๆ จะมีลักษณะแตกต่างออกไปบ้าง เช่น- จังหวัดชุมพร มีกลุ่มไม้ แสม-ลำพู อยู่ริมชายฝั่งน้ำ ถัดเข้าไปเป็นกลุ่ม ไม้โกงกาง ไม้โปรง ตะบูน ตาตุ่ม และ เป้ง ตามลำดับ- จังหวัดระนอง จากริมน้ำเป็นกลุ่ม รังกะแท้ ถัดเข้าไปเป็น ไม้ลำพู แสม โกงกาง โปรง ตะบูน และ ฝาด ตามลำดับ- จังหวัดพังงา จากริมน้ำเป็นกลุ่มไม้ ลำพู-แสม โกงกางใบใหญ่ ตามด้วย โกงกางใบเล็ก โปรง ตะบูน และ ตาตุ่ม ตามลำดับตัวอย่างพืชในป่าชายเลนสัตว์ในป่าชายเลนป่าชายเลนเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยสัตว์น้ำและสัตว์บกนานาชนิด นับตังแต่สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังชั้นต่ำ ตั้งแต่ ฟองน้ำ ซีเลนเตอเรท หนอนตัวแบน หนอนปล้องหอย หมึก กุ้ง กั้ง ปู ตลอดจนสัตว์มีกระดูกสันหลังจำพวก ปลา สัตว์เลื้อยคลาน นก และ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์ต่างๆเหล่านี้ ส่วนใหญ่มีความสำคัญ ทางเศรษฐกิจ และมีความสำคัญต่อ ระบบนิเวศทะเล เป็นอย่างยิ่งปู เป็นสัตว์น้ำที่พบอาศัยอยู่ตามป่าชายเลนหลายสิบชนิด บางชนิดขุดรูอยู่ตามพื้นโคลนใต้รากไม้ บางชนิดคลานไปมาหรือเกาะอยู่ตามรากโกงกาง ปูกลุ่มใหญ่ที่พบได้แก่ ปูเสฉวน ปูก้ามดาบ ปูแสม และ ปูทะเลกุ้ง ที่อาศัยอยู่ตามลำคลองในป่าชายเลนมีจำนวนมาก นับตั้งแต่ตัวขนาดเล็ก คือ กุ้งเคย ซึ่งนำมาทำกะปิ ไปจนถึงกุ้งขนาดใหญ่ทุกชนิดล้วนเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น กุ้งแชบ๊วย กุ้งตะกาด กุ้งโอดัก กุ้งกุลาดำ เป็นต้นนอกจากกุ้งและปูแล้วยังมีอาร์โทรพอดที่เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่พบได้บ่อยในป่าชายเลน คือ กั้งตั๊กแตน หลายชนิด และ แมงดาทะเล ด้วยหอย ที่สำรวจพบในป่าชายเลนมีทั้งหอยกาบเดี่ยว เช่น จุ๊บแจง หอยขี้นก หอยตานนท์ หอยหมาก และหอยสองกาบที่เกาะอยู่ตามรากโกงกางคือ หอยนางรม และหอยตะโกรม นอกจากนี้ยังมี หมึกสาย อาศัยอยู่ตามพื้นลำคลองในป่าบริเวณป่าชายเลนด้วยปลา จำนวนมากที่ดำรงชีวิตอยู่ประจำ และบางชนิดว่ายเวียนเข้ามาหาอาหารบริเวณป่าชายเลนเมื่อน้ำขึ้น ได้แก่ ปลากะพง ชนิดต่างๆ ปลากะบอก ปลากะรังปลานวลจันทร์ ปลาข้างตะเภา ปลาสลิดทะเล ปลาเห็ดโคน ปลาบู่ ปลาตีน ปลากด ปลาดุก ปลาแป้น ปลาตะกรับ ปลาอมไข่ เป็นต้นปลาต่างๆเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นปลาที่เรานำมาบริโภค บริเวณป่าชายเลนจึงเป็นแหล่งประมงชายฝั่งที่สำคัญนอกเหนือจากสัตว์น้ำแล้ว ยังมีสัตว์บกจำนวนมากอาศัยอยู่ในป่าชายเลน นับตั้งแต่ แมลง เช่น หิ่งห้อย ด้วง ริ้น สัตว์เลื้อยคลาน จำพวก เต่าทะเล จระเข้ นก มากกว่า 80 ชนิด ได้แก่ นกยาง เหยี่ยว นกกระจิบ นกกินปลา นกหัวโต นกปรอด ฯลฯ และ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ประมาณ 35 ชนิด ที่พบได้เสมอ ในป่าชายเลนคือ ลิงแสม นาก ค้างคาว เสือปลา กระรอก เป็นต้น